1. กรดคาร์บอกซิลิกเป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล(-COOH) มีสูตรทั่วไปคือ R-COOH
2. การเรียกชื่อกรดคาร์บอกซิลิก
2.1 เรียกตามระบบ IUPAC ลงท้ายด้วย -oic acid เช่น HCOOH เรียกว่า methanoic acid และ CH3CH2CH2CH2COOH เรียกว่า pentanoic acid
2.2 กรดคาร์บอกซิลิกส่วนมากเรียกตามชื่อสามัญ เช่น กรดมด(formic acid;HCOOH) และ กรดอะซิติก(acetic acid;CH3COOH)
3. สภาพกรดของกรดคาร์บอกซิลิก
3.1 ผลของเรโซแนนซ์ (resonance effect) กรดคาร์บอกซิลิกมีสภาพกรดสูงกว่าอัลกอฮอล์ เนื่องจากกรดคาร์บอกซิลิก สลายตัวให้ H+ และคาร์บอกซิเลตแอนไอออน (RCOO-) ที่เสถียรเนื่องจากเกิดเรโซแนนซ์ ระหว่างออกซิเจนอะตอม
RCOOH RCOO- + H+
3.2 ผลเหนี่ยวนำ(inductive effect) จะมีผลเมื่อกลุ่มอะตอมที่เหนี่ยวนำดึง อิเลคตรอนอยู่ใกล้หมู่คาร์บอกซิล ทำให้กรดคาร์บอกซิลิกมีสภาพกรดสูงขึ้น เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก (CCl3COOH) มีสภาพกรดสูงกว่ากรดอะซิติก เนื่องจาก inductive effect ของคลอรีนอะตอม
4. ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิก
4.1 ปฏิกิริยาการเกิดเกลือของกรดคาร์บอกซิลิก เมื่อกรดคาร์บอกซิลิกทำปฏิกิริยากับเบส เช่นNaOH และ Na2CO3 จะให้เกลือของกรดคาร์บอกซิลิก
RCOOH + NaOH RCOO-Na+ + H2O
RCOOH + Na2CO3 RCOO-Na+ + H2O + CO2
HCOOH + Na2CO3 HCOO-Na+ + H2O + CO2
4.2 ปฏิกิริยารีดักชันของกรดคาร์บอกซิลิกด้วย LiAlH4 แล้วทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำ ให้อัลกอฮอล์ปฐมภูมิ เช่น
RCOOH + LiAlH4 RCH2OH
CH3COOH + LiAlH4 CH3CH2OH
4.3 ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิกกับไทโอนิลคลอไรด์(SOCl2)ให้แอซิดคลอไรด์ เช่น
RCOOH + SOCl2 RCOCl + SO2 + HCl
CH3CH2COOH + SOCl2 CH3CH2COCl + SO2 + HCl
4.4 ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิกกับอัลกอฮอล์โดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เอสเทอร์(Fisher Esterification) เช่น
RCOOH + ROH RCOOR + H2O
CH3CH2COOH + CH3OH CH3CH2COOCH3 + H2O
4.5 ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิกกับเอมีนโดยให้ความร้อนให้เอไมด์ เช่น
RCOOH + RNH2 RCONHR + H2O
CH3CH2COOH + CH3NH2 CH3CH2CONHCH3 + H2O
5. อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid derivatives) เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะให้กรดคาร์บอกซิลิก อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิกได้แก่ แอซิดเฮไลด์(RCOCl) เช่น CH3CH2COCl (propanoyl chloride) แอซิดแอนไฮไดรด์ (RCO-O-COR) เช่น CH3CH2CO-O-COCH2CH3 (propanoic anhydride)
เอสเทอร์(RCOOR) เช่น CH3CH2COOCH3 (methyl propanoate) และเอไมด์ (RCONHR) เช่น CH3CH2CONHCH3 (N - methyl propanamide)
2. การเรียกชื่อกรดคาร์บอกซิลิก
2.1 เรียกตามระบบ IUPAC ลงท้ายด้วย -oic acid เช่น HCOOH เรียกว่า methanoic acid และ CH3CH2CH2CH2COOH เรียกว่า pentanoic acid
2.2 กรดคาร์บอกซิลิกส่วนมากเรียกตามชื่อสามัญ เช่น กรดมด(formic acid;HCOOH) และ กรดอะซิติก(acetic acid;CH3COOH)
3. สภาพกรดของกรดคาร์บอกซิลิก
3.1 ผลของเรโซแนนซ์ (resonance effect) กรดคาร์บอกซิลิกมีสภาพกรดสูงกว่าอัลกอฮอล์ เนื่องจากกรดคาร์บอกซิลิก สลายตัวให้ H+ และคาร์บอกซิเลตแอนไอออน (RCOO-) ที่เสถียรเนื่องจากเกิดเรโซแนนซ์ ระหว่างออกซิเจนอะตอม
RCOOH
3.2 ผลเหนี่ยวนำ(inductive effect) จะมีผลเมื่อกลุ่มอะตอมที่เหนี่ยวนำดึง อิเลคตรอนอยู่ใกล้หมู่คาร์บอกซิล ทำให้กรดคาร์บอกซิลิกมีสภาพกรดสูงขึ้น เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก (CCl3COOH) มีสภาพกรดสูงกว่ากรดอะซิติก เนื่องจาก inductive effect ของคลอรีนอะตอม
4. ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิก
4.1 ปฏิกิริยาการเกิดเกลือของกรดคาร์บอกซิลิก เมื่อกรดคาร์บอกซิลิกทำปฏิกิริยากับเบส เช่นNaOH และ Na2CO3 จะให้เกลือของกรดคาร์บอกซิลิก
RCOOH + NaOH
RCOOH + Na2CO3
HCOOH + Na2CO3
4.2 ปฏิกิริยารีดักชันของกรดคาร์บอกซิลิกด้วย LiAlH4 แล้วทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำ ให้อัลกอฮอล์ปฐมภูมิ เช่น
RCOOH + LiAlH4
CH3COOH + LiAlH4
4.3 ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิกกับไทโอนิลคลอไรด์(SOCl2)ให้แอซิดคลอไรด์ เช่น
RCOOH + SOCl2
CH3CH2COOH + SOCl2
4.4 ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิกกับอัลกอฮอล์โดยมีกรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เอสเทอร์(Fisher Esterification) เช่น
RCOOH + ROH
CH3CH2COOH + CH3OH
4.5 ปฏิกิริยาของกรดคาร์บอกซิลิกกับเอมีนโดยให้ความร้อนให้เอไมด์ เช่น
RCOOH + RNH2
CH3CH2COOH + CH3NH2
5. อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid derivatives) เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะให้กรดคาร์บอกซิลิก อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิกได้แก่ แอซิดเฮไลด์(RCOCl) เช่น CH3CH2COCl (propanoyl chloride) แอซิดแอนไฮไดรด์ (RCO-O-COR) เช่น CH3CH2CO-O-COCH2CH3 (propanoic anhydride)
เอสเทอร์(RCOOR) เช่น CH3CH2COOCH3 (methyl propanoate) และเอไมด์ (RCONHR) เช่น CH3CH2CONHCH3 (N - methyl propanamide)
6. ปฏิกิริยาของแอซิดเฮไลด์
6.1 ปฏิกิริยาของแอซิดคลอไรด์กับเกลือของกรดคาร์บอกซิลิกให้แอซิดแอนไฮไดรด์ เช่น
RCOCl + RCOO-Na+
CH3COCl + CH3CH2COO-Na+
6.2 ปฏิกิริยาของแอซิดคลอไรด์กับน้ำใหกรดคาร์บอกซิลิก เช่น
RCOCl + H2O
CH3COCl + H2O
6.3 ปฏิกิริยาของแอซิดคลอไรด์กับอัลกอฮอล์ให้เอสเทอร์ เช่น
RCOCl + ROH
CH3COCl + CH3CH2OH
6.4 ปฏิกิริยาของแอซิดคลอไรด์กับเอมีนให้เอไมด์ เช่น
RCOCl + RNH2
CH3COCl + CH3CH2NH2
6.5 ปฏิกิริยารีดักชันด้วยLiAlH4แล้วทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำ ให้อัลกอฮอล์ปฐมภูมิ เช่น
RCOCl + LiAlH4
CH3COCl + LiAlH4
7. ปฏิกิริยาของแอซิดแอนไฮไดรด์
7.1 ปฏิกิริยาของแอซิดแอนไฮไดรด์กับน้ำให้กรดคาร์บอกซิลิก 2 โมล เช่น
RCO-O-COR + H2O
7.2 ปฏิกิริยาของแอซิดคลอไรด์กับอัลกอฮอล์ทำให้เป็นกรดให้เอสเทอร์และกรดคาร์บอกซิลิก เช่น
RCO-O-COR + ROH
CH3CO-O-COCH3 + CH3CH2OH
7.3 ปฏิกิริยาของแอซิดคลอไรด์กับเอมีนเมื่อทำให้เป็นกรดจะให้เอไมด์และกรดคาร์บอกซิลิก เช่น
RCO-O-COR + RNH2
CH3CO-O-COCH3 + CH3CH2NH2
7.4 ปฏิกิริยารีดักชันด้วยLiAlH4แล้วทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำ ให้อัลกอฮอล์ปฐมภูมิ 2 โมล เช่น
RCO-O-COR + LiAlH4
CH3CO-O-COCH3 + LiAlH4
8. ปฏิกิริยาของเอสเทอร์
8.1 ปฏิกิริยาของเอสเทอร์กับน้ำในสภาวะกรด ให้กรดคาร์บอกซิลิกและอัลกอฮอล์ เช่น
RCOOR/ + H2O/H+
CH3CH2COOCH3 + H2O/H+
8.2 ปฏิกิริยาของเอสเทอร์กับน้ำในสภาวะเบส(Saponification)ให้เกลือของกรดคาร์บอกซิลิกและอัลกอฮอล์ เช่น
RCOOR/ + H2O/NaOH
CH3CH2COOCH3 + H2O/NaOH
8.3 ปฏิกิริยารีดักชันด้วยLiAlH4 แล้วทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำให้อัลกอฮอล์ 2 โมล คือส่วนที่มาจากกรดคาร์บอกซิลิก และส่วนที่มาจากอัลกอฮอล์ เช่น
RCOOR/ + LiAlH4
CH3COOCH2CH3 + LiAlH4
9. ปฏิกิริยาของเอไมด์
9.1 ปฏิกิริยาของเอไมด์กับน้ำในสภาวะกรดให้กรดคาร์บอกซิลิกและเกลือของเอมีนหรือเกลือแอมโมเนียม เช่น
RCONH2 + H2O/H+
CH3CH2CONHCH3 + H2O/H+
9.2 ปฏิกิริยาของเอไมด์ปฐมภูมิกับน้ำในสภาวะเบสให้เกลือของกรดคาร์บอกซิลิกและแอมโมเนีย เช่น
RCONH2 + H2O/NaOH
CH3CH2CONH2 + H2O/NaOH
CH3CH2CONHCH2CH3 + H2O/NaOH
CH3CH2CONH(CH3)2 + H2O/NaOH
9.3 ปฏิกิริยารีดักชันด้วยLiAlH4 แล้วทำปฏิกิริยาต่อกับน้ำให้เอมีน เช่น
RCONH2 + LiAlH4
CH3CH2CONHCH2CH3 + LiAlH4
CH3CH2CONH(CH3)2 + LiAlH4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น