หมายถึง สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบส ของกรดนั้น หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม
หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์ คือเป็นสารละลายที่ใช้ควบคุม ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย นั่นคือสามารถ รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า buffer capacity
สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1) สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน (Acid buffer solution)
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7 เป็นกรด เช่น
กรดอ่อน + เกลือของกรดอ่อนนั้น
CH3COOH + CH3COONa
HCN + KCN
H2S + Na2S
H2CO3 + NaHCO3
2) สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน (Basic buffer solution)
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH > 7 เป็นเบส เช่น
เบสอ่อน + เกลือของเบสอ่อนนั้น
NH3 + NH4Cl
NH3 + NH4NO3
Fe(OH)2 + FeCl2
Fe(OH)3 + FeCl3
วิธีเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
1. เตรียมโดยตรงโดยการผสมกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดนั้นหรือผสมเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้นก็จะได้เกลือของกรดอ่อนและเกลือของเบสอ่อน
2. เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส ดังนี้
1) บัฟเฟอร์กรด เตรียมโดยใช้กรดอ่อน( แตกตัวบางส่วน )ทำปฏิกิริยากับเบส (แก่หรืออ่อน)
เช่น HF(aq) + NaOH(aq) -----------------> NaF(aq) + H2O(l)
ถ้าใช้ HF มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาจนสมบูรณ์แล้ว NaOH จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง HF กับ NaF ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์กรด (กรดอ่อน+เกลือของมัน)
2) บัฟเฟอร์เบส เตรียมโดยใช้เบสอ่อน( แตกตัวบางส่วน ) ทำปฎิกิริยากับกรด (แก่หรืออ่อน) เช่น
HCl(aq) + NH4OH(aq) ----------------> NH4Cl(aq) + H2O(l)
ถ้าใช้ NH4OH มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้ว HCl จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง NH4OH กับ NH4Cl ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์เบส (เบสอ่อน + เกลือของมัน)
การควบคุมค่า pH ของสารละลายบัฟเฟอร์
ถ้าบัฟเฟอร์มีสาร CH3COO- กับ CH3COOH อยู่ในระบบ ถ้าเติมกรด เช่น HCl ลงไป H+ ในกรดจะถูกสะเทินด้วยคู่เบสดังนี้
CH3COO- + H+ ↔ CH3COOH
ถ้าเติมเบส เช่น KOH ลงไป OH- ในเบสจะถูกสะเทินด้วยคู่กรณีดังนี้
CH3COOH + OH- ↔ CH3COO- + H2O
ชนิดของ Buffer
1.คู่เหมือนไม่ทำปฏิกิริยากัน เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
2.บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
3. บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
1.คู่เหมือนไม่ทำปฏิกิริยากัน เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
2.บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
3. บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่างกัน 1ตัว
2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่างกัน 1ตัว
2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7 เป็นกรด
2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7 เป็นเบส
(http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/buffer.htm)
1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7 เป็นกรด
2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7 เป็นเบส
(http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/buffer.htm)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น