วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

Link ดู วิธีTitration

http://www.youtube.com/watch?v=g8jdCWC10vQ
http://www.youtube.com/watch?v=9DkB82xLvNE&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=BllRQAc76Y0&feature=related

Acid-base titration

การไทเทรตกรด-เบส หมายถึง กระบวนการหาปริมาณสาร โดยวิธีใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่
แน่นอน ให้ทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดและเบสที่เข้าทำปฏิกิริยากันพอดี ทำให้คำนวณหาความเข้มข้นหรือปริมาณของสารตัวอย่างดังกล่าวได้
       วิธีการไทเทรตกรด-เบส คือ นำสารละลายกรดหรือเบสตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์หาปริมาณ มาทำการไทเทรตกับสารละลายเบสหรือกรดมาตรฐานที่ทราบค่าความเข้มข้นที่แน่นอน กล่าวคือ ถ้าสารละลายตัวอย่างเป็นสารละลายกรด ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นเบส นำมาทำการไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาพอดีกัน จากนั้นนำไปคำนวณหาปริมาณของสารตัวอย่างต่อไป หรือทางตรงกันข้าม ถ้าใช้สารละลายตัวอย่างเป็นเบส ก็ต้องใช้สารละลายมาตรฐานเป็นกรด
 สารละลายมาตรฐาน ที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน บรรจุอยู่ในเครื่องแก้วที่เรียกว่า บิวเรตต์ ซึ่งจะมีก๊อกไขปิด-เปิดเพื่อหยดสารละลายมาตรฐานมายังขวดรูปกรวยที่บรรจุสารละลายตัวอย่างที่ต้องการวิเคราะห์ ในการไทเทรต ค่อยๆ หยดสารละลายมาตรฐานลงมาทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่างในขวดรูปกรวย เขย่าหรือหมุนขวดรูปกรวยเพื่อให้สารผสมกันพอดี ไทเรตจนกระทั่งอินดิเคเตอร์เปลี่ยนสีก็หยุดไทเทรต แล้วบันทึกปริมาตรสารละลายมาตรฐานที่ใช้ เพื่อนำไปคำนวณหา pH สารละลายต่อไป
เครื่องแก้วเชิงปริมาตร ที่ใช้ในการถ่ายเทของเหลวตัวอย่าง ลงในขวดรูปกรวยจะใช้เครื่องแก้วที่สามารถ อ่านปริมาตรได้ค่าที่ละเอียด และมีค่าถูกต้องมากที่สุด นั่นคือจะใช้ ปิเปตต์ วิธีใช้ปิเปตต์จะใช้ลูกยางช่วยในการดูดสารละลาย โดยในตอนแรก บีบอากาศออกจากลูกยาง ที่อยู่ปลายบนของปิเปตต์ แล้วจุ่มปลายปิเปตต์ ลงในสารละลายที่ต้องการปิเปตต์ แล้วค่อยๆ ปล่อยลูกยาง สารละลายจะถูกดูดขึ้นมาในปิเปตต์ เมื่อสารละลายอยู่เหนือขีดบอกปริมาตร ดึงลูกยางออก รีบใช้นิ้วชี้กดที่ปลายปิเปตต์ค่อยๆ ปล่อยสารละลายออกจนถึงขีดบอกปริมาตรบน จากนั้นก็ปล่อยสารละลาย ออกจากปิเปตต์สู่ขวดรูปกรวยจนหมด

อินดิเคเตอร์กับการไทเทรตกรด-เบส

       อินดิเคเตอร์กรด-เบส ที่เหมาะสมกับปฏิกิริยาการไทเทรตจะต้องมีค่า pH ที่จุดกึ่งกลางช่วงการเปลี่ยนสีใกล้เคียงหรือเท่ากับ pH ที่จุดสมมูลของปฏิกิริยา นอกจากนี้ การเลือกใช้อินดิเคเตอร์กรด-เบส ต้องพิจารณาสีที่ปรากฎ จะต้องมีความเข้มมากพอที่จะมองเห็นได้ง่าย หรือเห็นการเปลี่ยนสีได้ชัดเจน ช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ จะเกิดขึ้นในช่วง 2 หน่วย pH
       ตัวอย่างเช่น การไทเทรตกรดแก่กับเบสแก่ pH ของสารละลายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาการไทเทรต เมื่อถึงจุดสมมูลมีค่าใกล้เคียง 7 ก็ควรเลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีใกล้เคียงกับ 7 เช่น อาจใช้โบรโมไทมอลบลูหรือ ฟีนอล์ฟทาลีน ซึ่งจะเปลี่ยนจากไม่มีสีเป็นสีชมพู ในช่วง pH 8.20-10.00 เป็นต้น ดังนั้น ถ้าทราบ pH ของสารละลายที่จุดสมมูลของปฏิกิริยาการไทเทรตก็สามารถเลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมได้
การเลือกอินดิเคเตอร์ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส เพราะที่จุดสมมูลของแต่ละปฏิกิริยานั้น มีค่า pH ที่ต่างกัน
       การฟของการไทเทรตจะช่วยในการเลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมได้ดี เพราะกราฟจะแสดงค่า pH ของสารละลายขณะไทเทรต ตั้งแต่ก่อนจุดสมมูล ที่จุดสมมูล และหลังจุดสมมูล จุดที่ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งเป็นจุดสมมูลนั้น จะบอกช่วง pH ของอินดิเคเตอร์ที่จะเลือกใช้ ในการพิจารณาเลือกอินดิเคเตอร์ จากกราฟของการไทเทรต จะแบ่งออกตามชนิดของปฏิกิริยาดังนี้

1.อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสแก่

รูปกราฟของการไทเทรตระหว่างกรดแก่และเบสแก่ จะแสดง pH ที่จุดสมมูลอยู่ที่ pH ใกล้เคียง 7
       จากกราฟ จะเห็นว่าค่า pH เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่จุดใกล้ๆ จุดยุติ (ตั้งแต่ pH 4-10) ดังนั้นอินดิเคเตอร์ที่มีช่วง pH ของการเปลี่ยนแปลงสีระหว่าง 4 ถึง 10 ก็สามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมที่อาจใช้ได้ ได้แก่ เมทิลเรด (4.4-6.2) โบรโมไทมอลบลู (6.0-7.5) และฟีนอล์ฟทาลีน(8.2-10.0) ดังแสดงในภาพ แต่เรามักจะนิยมใช้ฟีนอล์ฟทาลีน เพราะสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีได้ชัดเจน สำหรับ โบรโมคลีซอล กรีน (3.8-5.4) ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นอินดิเคเตอร์สำหรับกรดแก่และเบสแก่ เพราะช่วงเปลี่ยนสีที่เป็นรูปเบสของอินดิเคเตอร์ จะเกิดก่อนจุดสมมูล ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการบอกจุดยุติ

2.อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่

       การเลือกอินดิเคเตอร์สำหรับการไทเทรตกรดอ่อน เช่น กรดแอซิติก กับเบสแก่ เช่น NaOH จะมีข้อจำกัดมากกว่าที่จุดสมมูลของการไทเทรต สารละลายจะมีโซเดียมแอซิเตต ทำให้สารละลายเป็นเบส มี pH มากกว่า 7


รูปกราฟแสดงการไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่และอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสม
       จากกราฟจะเห็นได้ว่า เมทิลเรด จะเปลี่ยนสีก่อนจุดสมมูลจึงไม่เหมาะที่จะใช้เป็นอินดิเคเตอร์สำหรับกรดแอซิติกกับ NaOH (เข้มข้น 0.100 M) ฟีนอล์ฟทาลีนเปลี่ยนสีที่ช่วงจุดสมมูลพอดี โบรโมไทมอลบลู อาจจะใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้ดี เมื่อใช้สีมาตรฐานเทียบ

3.อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยาระหว่างกรดแก่กับเบสอ่อน

       การเปลี่ยนแปลง pH ของสารละลายขณะไทเทรตเบสอ่อน เช่น NH3 กับกรดแก่ เช่น HCl จะค่อยๆ ลดลง เมื่อใช้ HCl เป็นสารมาตรฐาน ที่จุดยุติจะได้เกลือ NH4Cl และ pH < 7 ในการไทเทรต 0.100 M NH3 กับ 0.100 M HCl จะได้กราฟของการไทเทรต (ดังภาพ)



รูปกราฟของการไทเทรตระหว่าง 0.1000 M NH3 กับ 0.1000 M HCl

       จากกราฟ เราสามารถพิจารณาชาวง pH 3-7.5 ในการเลือกอินดิเคเตอร์ ซึ่งเราอาจใช้โบรโมไทมอลบลูหรือเมทิลเรดได้ แต่ไม่ควรใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเพราะช่วง pH ของฟีนอล์ฟทาลีนมากกว่า 7 ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการบอกจุดสมมูล

(http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/acid-base/C11-1.HTM)

Indicator

 อินดิเคเตอร์ คือ สารที่ใช้บอกความเป็นกรด-เบส ของสารละลายได้อย่างหนึ่ง สารประกอบที่เปลี่ยนสีได้ที่ pH เฉพาะตัว จะถูกนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้




การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์

         HIn เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในรูปกรด (Acid form)
         In- เป็นสัญลักษณ์ของอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในรูปเบส (Basic form)
รูปกรดและรูปเบสมีภาวะสมดุล เขียนแสดงได้ด้วยสมการ ดังนี้

HIn และ In- มีสีต่างกันและปริมาณต่างกัน จึงทำให้สีของสารละลายเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าปริมาณ HInมากก็จะมีสีของรูปกรด ถ้ามีปริมาณ In-มากก็จะมีสีของรูปเบส การที่จะมีปริมาณ HIn หรือ In มากกว่าหรือน้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณ H3O+ ในสารละลาย ถ้ามี H3O+ มากก็จะรวมกับ In- ได้เป็น HIn ได้มากจะเห็นสารละลายใสไม่มีสีของ HIn แต่ถ้าอยู่ในสารละลายที่มี OH- มาก OH-จะทำปฏิกิริยากับ H3O+ ทำให้H3O+ ลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ In- มากขึ้น จะเห็นสารละลายในรูปของ In- คือเห็นเป็นสีชมพู

Buffer solution

สารละลายบัฟเฟอร์

   หมายถึง  สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบส         ของกรดนั้น  หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น   จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม


หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์  คือเป็นสารละลายที่ใช้ควบคุม  ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย  เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก  เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  นั่นคือสามารถ  รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ  แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก  เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า  buffer capacity

สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท
1)  สารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน  (Acid buffer solution) 
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้มี pH < 7  เป็นกรด  เช่น
                                                กรดอ่อน  +  เกลือของกรดอ่อนนั้น
                                              CH3COOH  +  CH3COONa
                                              HCN  +  KCN
                                              H2S  +  Na2S 
                                              H2CO3  +  NaHCO3
 2)  สารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน  (Basic buffer solution) 
สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7  เป็นเบส  เช่น
                                                เบสอ่อน  +  เกลือของเบสอ่อนนั้น
                                                NH3  +  NH4Cl
                              NH3  +  NH4NO3
                              Fe(OH)2  +  FeCl2
                              Fe(OH)3  +  FeCl3

วิธีเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์   
1.  เตรียมโดยตรงโดยการผสมกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดนั้นหรือผสมเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้นก็จะได้เกลือของกรดอ่อนและเกลือของเบสอ่อน
2.  เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส ดังนี้
    
1)  บัฟเฟอร์กรด  เตรียมโดยใช้กรดอ่อน( แตกตัวบางส่วน )ทำปฏิกิริยากับเบส (แก่หรืออ่อน)
 เช่น  HF(aq)  +  NaOH(aq)  -----------------> NaF(aq)  +  H2O(l)
  ถ้าใช้ HF มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาจนสมบูรณ์แล้ว NaOH จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง HF กับ NaF ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์กรด (กรดอ่อน+เกลือของมัน)

2)  บัฟเฟอร์เบส  เตรียมโดยใช้เบสอ่อน( แตกตัวบางส่วน )  ทำปฎิกิริยากับกรด  (แก่หรืออ่อน)  เช่น
          HCl(aq)  +   NH4OH(aq)   ---------------->   NH4Cl(aq)  +    H2O(l)  
         ถ้าใช้  NH4OH มากเกินพอ เมื่อเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้ว HCl จะหมดไปจากระบบดังนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง NH4OH กับ  NH4Cl  ซึ่งเป็นบัฟเฟอร์เบส  (เบสอ่อน + เกลือของมัน)

 การควบคุมค่า pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์ 
                ถ้าบัฟเฟอร์มีสาร CH3COO-  กับ CH3COOH  อยู่ในระบบ         ถ้าเติมกรด เช่น HCl ลงไป  H+  ในกรดจะถูกสะเทินด้วยคู่เบสดังนี้
                         CH3COO-  +  H+        ↔       CH3COOH
 ถ้าเติมเบส เช่น  KOH  ลงไป  OH-  ในเบสจะถูกสะเทินด้วยคู่กรณีดังนี้
                            CH3COOH  +  OH-      ↔        CH3COO-  +  H2O

ชนิดของ Buffer
1.คู่เหมือนไม่ทำปฏิกิริยากัน เช่น CH3COOH กับ CH3COONa
2.บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน
3. บัฟเฟอร์คู่กรด คู่เบส ของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อน
หลักการการดูสารว่าเป็น Buffer หรือไม่
1.ถ้าไม่ทำปฏิกิริยากัน(คู่เหมือน)ตัดแก่ออกจะต้องมี H+ ต่างกัน 1ตัว
2.ถ้าทำปฏิกิริยากันอ่อนต้องเหลือ
การดูค่า pH ของ สารละลายBuffer
     1.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากกรดอ่อนคู่กับเกลือของกรดอ่อน มี pH <7   เป็นกรด
     2.บัฟเฟอร์ที่เกิดจากเบสอ่อนคู่กับเกลือของเบสอ่อน มี pH >7    เป็นเบส

(http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/buffer.htm)

ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ


ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ

1.ไฮโดรลิซิส คือปฏิกิริยาระหว่างสารกับน้ำ โดยโมเลกุลของน้ำจะถูกแยกออก
2.ไฮโดรลิซิสของไอออนของกรดและไอออนของเบสไอออนบวกคือไอออนของเบส ไอออนลบคือไอออนของกรด


1.ไอออนของกรดแก่และไอออนของเบสแก่เมื่ออยู่ในน้ำจะไม่เกิดไฮโดรลิ
ซิส สารละลายจึงเป็นกลาง

Cl- + H20 ไม่เกิดปฏิกิริยา
Na+ + H20 ไม่เกิดปฏิกิริยา

2.ส่วนไอออนของกรดอ่อนและไอออนของเบสอ่อน เมื่ออยู่ในน้ำจะเกิดไฮโดรลิซิส แล่วเกิดภาวะสมดุล (มีค่า Kh เป็นค่าคงที่สมดุลซึ่งเรียกว่า ค่าคงที่ไฮโดรลิซิส )

(OH-) สารสะลายที่ได้จึงเป็นเบส
เมื่อไอออนของกรดอ่อนเกิดไฮโดรลิซิสจะได้กรดอ่อน และเกิดไฮดรอกไซด์ไอออน




เมื่อไอออนของเบสอ่อนเกิดไฮโดรลิซิสจะได้เบสอ่อน และเกิดไฮโดรเนียมไอออน (H+) สารสะลายที่ได้จึงเป็นกรด



การคำนวณที่เกี่ยวกับ Ka & Kb

การคำนวณที่เกี่ยวกับ



Ka & Kb

การแตกตัวของกรดอ่อน เบสอ่อน

การแตกตัวของกรดอ่อน เบสอ่อน





 

การแตกตัวของกรดแก่่ เบสแก่่

การแตกตัวของกรดแก



เบสแก

ปัจจัยทีี่่มีผลต่อความแรงของกรด-เบส

ปัจจัยที่มีผลต่อความแรงของกรด-เบส

ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส (Lewis Acid-Base Theory)

ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส (Lewis Acid-Base Theory)




1.ตามทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส คู่อิเล็กตรอนที่มีการให้หรือรับนั้นเป็นประเภทเวเลนซ์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือ Lonepaired electron หรือ Nonbonding Valence Electron Pair

2.ธาตุของสารประกอบที่มีความหนาแน่นอิเล็กตรอนน้อยหรือไอออนที่มีประจุบวก จัดเป็นกรดลิวอิสที่ดี

ตัวอย่างกรด-เบส

กรดบอริก B(OH)3



ในสารละลายเชิงซ้อน: โลหะไอออนเป็นกรดลิวอิสที่ดี
 



คู่ก่กรด-เบส (conjugate acid-base pair)

คู่กรด-เบส (conjugate acid-base pair)

การให้และรับโปรตอนจะเกิดคู่กรด-เบส (conjugate acid-basepair) กล่าวคือ เมื่อกรดให้H+



ไปกลายเป็นเบส เรียกว่า กรด กับคู่เบส (conjugate base )หรือเมื่อเบสรับ H+ จะกลายเป็น


กรด จะเรียกว่าเบส กับคู่กรด (conjugate acid )



เมื่อพิจารณาปฏิกิริยาไปข้างหน้า


เมื่อพิจารณาปฏิกิริยาย้อนกลับ


คู่เบส ของกรด ตามทฤษฎีคือ สารที่เกิดขึ้นจากการที่กรดให้โปรตอนไปแล้ว เช่น


คู่กรด ของเบส ตามทฤษฎีสารที่เกิดขึ้นจากการที่เบสรับโปรตอนไปแล้ว



เบสแก่ จะมีคู่กรดอ่อน และเบสอ่อน จะมีคู่กรดแก่
กรดแก่ จะมีคู่เบสอ่อน และกรดอ่อน จะมีคู่เบสแก่



-เบส พบว่ากรดทุกตัวจะมีคู่เบส และ เบสทุกตัวจะมีคู่กรด เช่น
ตามนิยามคู่กรด

 แอมฟิโปรติก (Amphiprotic)

น้ำสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ด้วยตัวเอง (Autoionization)โดยที่น้ำเป็นทั้งสารที่ให้และ

รับโปรตอน ดังสมการ


สารที่สามารถทั้งให้และรับH+ ก็ได้ เรียกว่า เป็นสารประเภทแอมฟิโปรติก (amphiprotic) เช่น H2O , NH3 , HSO4- , HCO3- ,H2PO4-


แอมโฟเทอริก(Amphotheric)



ตามทฤษฎีของเบรินสเตด-ลาวรีน้ำมีสมบัติเป็นได้ทั้งกรด (น้ำ+NH3) หรือเบส

(น้ำ+CH3COOH) ซึ่งขึ้นกับสารที่เข้าทำปฏิกิริยาสมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า แอมโฟเทอริก


ข้อจำกัดของทฤษฎีเบรินสเตด-ลาวรี



ตามทฤษฎีของเบรินสเตด-ลาวรีสารที่มีสมบัติเป็นกรดต้องมีอะตอมของไฮโดรเจน เพราะต้องให้โปรตอน(H+) ซึ่งอาจเป็นโมเลกุล เช่น HCl . H2O , NH3 และ CH3COOH เป็นต้น หรือเป็นไอออนบวก เช่น NH4+ หรือ ไอออนลบ เช่น HSO4- ,HCO3- เป็นต้น แต่
ปรากฎว่าทฤษฎีของเบรินสเตด-ลาวรีไม่สามารถอธิบาย กรดบางชนิดที่ไม่มีอะตอมของไฮโดรเจน หรือไม่ให้โปรตอน เช่น BF3 กรดบอริก B(OH)3

ทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-ลาวรี (Bronsted-Lowry Theory)

ทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-ลาวรี (Bronsted-Lowry Theory)

1.กรด เป็นสารที่ให้โปรตอนกับสารอื่น หรือ proton donor

2.เบส เป็นสารที่รับโปรตอนจากสารอื่น หรือ proton acceptor


นิยามกรด-เบสเบรินสเตด-ลาวรี คือ การถ่ายโอนH+ และ ในปฏิกิริยาจะมีทั้งสารที่ให้และสาร


ที่รับ H+ กล่าวคือเมื่อมีสารที่ให้ H+ (กรด) ก็จะมีสารที่รับ H+ (เบส) เช่น


ทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-ลาวรี เป็นนิยามที่สามารถอธิบายสารที่มีสมบัติเป็นกรด-เบสได้

มากกว่าใช้ทฤษฎีของอาร์เรเนียส กล่าวคือ


1.อธิบายสมบัติเป็นกรด-เบส ได้ไม่จำกัดว่าสารนั้นจะมีน้ำเป็นตัวทำละลายหรือไม่


2.อธิบายได้ว่า สารที่แสดงสมบัติเป็นกรดในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย คือ ไฮโดร


เนียมไอออน(H3O+)

ทฤษฎีกรด - เบสอาร์เรเนียส

ทฤษฎีกรด - เบสอาร์เรเนียส

กรด คือ สารที่ละลายน้ำแล้วให้H+


เบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วให้OH-

ข้อจำกัดของทฤษฎีกรด
-เบสอาร์รีเนียส

1.ใช้อธิบายปฏิกิริยากรด-เบสได้เฉพาะในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายเท่านั้น


2.ไม่สามารถอธิบายได้ว่าสารบางอย่าง เช่น NH3 มีสมบัติเป็นเบสเมื่อละลายน้ำ แต่ไม่มีหมู่


ไฮดรอกซิล (OH-) หรือ CO2 มีสมบัติเป็นกรดเมื่อละลายน้ำ แต่ไม่มีโปรตอน


3.สารแตกตัวแล้วให้ H+ เป็นการอธิบายความเป็นกรดของสารในสารละลายแบบง่ายๆ ปกติ


H+ จะไม่อยู่เป็นไอออนอิสระ ซึ่งทฤษฎีไม่สามารถอธิบายได้